Wire Rope 6×37 + IWRC

ลวดสลิง 6×37 เป็นลวดสลิงที่เหมาะกับการใช้งานทั่วไปรวมไปถึงเหมาะสำหรับ งานรอกเครนเช่นกัน

  • งานยกทั่วไป
  • ขุดเจาะน้ำมัน
  • เครื่องจักร
  • รอกและเครน

Description

ลวดสลิง ที่ทาง ยู.ที.ลิฟท์ติ้ง เทค จำหน่าย สามารถสั่งตัดได้ตามขนาดที่ลูกค้าต้องการ หรือสั่งทำชุดลวดสลิง 1 ขา 2 ขา 3 ขา หรือ 4 ขา ด้วยเครื่องอัดปลอกสลิงจาก Sweden โดยสามารถให้วิศวกรจากทางเราคำนวณขนาดของลวดสลิงและอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน

Diameter mm EN 12385-4
Min. Breaking Load (KN) Approx. Weight (Kg/100m)
1770 N/mm2 1960 N/mm2
5 14.12 15.63 9.53
6

7

20.33

27.67

22.51

30.64

13.70

18.70

8

9

10

36.14

45.74

56.64

40.02

50.64

62.52

24.40

30.90

38.10

11

12

13

68.32

81.31

95.42

75.65

90.03

105.67

46.10

54.90

64.39

14

16

18

111.00

145.00

183.00

123.00

160.00

203.00

74.68

97.54

123.00

20

22

24

226.00

273.00

325.00

250.00

303.00

360.00

152.00

184.00

219.00

26

28

32

382.00

443.00

578.00

423.00

590.00

640.00

258.00

299.00

390.00

 

การวัดขนาดลวดสลิง

การวัดขนาดลวดสลิงที่ถูกต้อง ต้องใช้ Veneer Caliper ในการวัด และจะวัดในส่วนทีใหญ่ที่สุดของลวดสลิง ดังรูป

 

เกรดของลวดสลิง

ลวดสลิงนั้นถูกผลิดขึ้นจากลวดหลากหลายเกรด ซึ่งจะแบ่งตาม  จามความแข็งแรงของลวดที่นำมาใช้ผลิต เกรดของลวดสลิงจะมีดังต่อไปนี้

  • 1470 N/mm2 = 150 kgf/ mm2
  • 1570 N/mm2 = 160 kgf/ mm2
  • 1770 N/mm2 = 180 kgf/ mm2
  • 1960 N/mm2 = 200 kgf/ mm2
  • 2160 N/mm2 = 220 kgf/ mm2

 

เกลียวของลวดสลิง

ในลวดสลิงจะประกอบไปด้วยเกลียวของสลิง 2 ชั้น หรือมากกว่า โดยแต่ละโครงสร้างของลวดสลิงนั้นส่งผลต่อ ความทนทาน ดั้งนั้นการเลือกเกลียวของ ลวดสลิง นั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะยืดอายุการใช้งานของลวดสลิง โดยทั่วไปแล้วนั้น ลวดสลิงที่มีจำนวนของเส้นลวดมากและมีขนาดลวดเล็ก จะมีความทนทานต่อการเสียดสีน้อยกว่า ลวดสลิงที่มีขนาดเส้นลวดใหญ่แล้วจำนวนลวดน้อย ในทางกลับกัน ในลวดสลิงขนาดเดียวกัน ถ้าจำนวนเส้นลวดน้อยและขนาดใหญ่จะมีความทนต่อความล้า น้อยกว่าลวดสลิงที่มีจำนวนลวดมากและขนาดเล็ก ด้วยเหตูนี้ลวดสลิงจิงมีการผสมผสานระหว่างลวดขนาดเล็กและลวดขนาดใหญ่ ซึ่งจะทำให้มีคุณลักษณะแตกต่างออกไปตามการใช้งาน และสามารถจำแนกออกได้เป็น 5 ประเภท

  • Single Layer เป็นชนิดโครงสร้างที่เรียบง่ายที่สุด โดยมีลวดที่พันอยู่รอกแกนกลางเพียงชั้นเดียว โดยลวดแต่ละเส้นมีขนาดเท่ากัน
  • Seale โครงสร้างนี้เป็นโครงสร้างที่ซับซ้อนขึ้น โดยมีชั้นเกลียว 2 ชั้น โดยด้านในจะเป็นเส้นลวดขนาดเล็ก และชั้นนอกจะเป็นลวดขนาดใหญ่
  • Filler wire โครงสร้างนี้จะเป็น โครงสร้างสองชั้นโดยที่ ลวดชั้นแรกและชั้นที่สองมีขนาดเท่ากัน แต่จะมีลวดขนาดเล็ก เข้ามาแทรกอยู่ระหว่างลวดชั้นที่หนึ่งและชั้นที่สอง
  • Warrington โครงสร้างนี้ จะเป็นโครงสร้างสองชั้นเช่นกันแต่ ในชั้นที่สองจะมีการใช้ลวดสองขนาดที่แตกต่างกัน
  • Combined Patterns เป็นการรวม กันของลักษณะโครงสร้างแต่ละแบบเพื่อสร้างโครงสร้างของลวดให้เหมาะกับการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น 2 ชั้นแรกของลวดจะใช้เป็นโครงสร้าง Seale และชั้นที่ 3 เป็นโครงสร้างแบบ Warrington และชั้นสุดท้ายเป็น Seale อีกทีเพื่อเพิ่มการทนต่อการเสียสี